จริยธรรมในโลกของข้อมูล เรื่อง สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล

จริยธรรมในโลกของข้อมูล 
เรื่อง สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
ขอบคุณรูปภาพจากhttps://sites.google.com
จริยธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างแม้กระทั้งด้านคอมพิวเตอร์ มีประเด็นสำคัญ 3 ข้อ คือ

1.ความเป็นส่วนตัว
2.สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
3.ทรัพย์สินทางปัญญา



ความเป็นส่วนตัว

  เมื่อข้อมูลประกฎอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้การรวบรวมข้อมูล การค้นหา และการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและเร็วขึ้น ทำให้ข้อมูลบางประเภท เช่น เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ฯลฯ อาจรั่วไหลไปสู่สาธารณะได้ บางครั้งข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูล
     ก่อนจะเผยแผ่ข้อมูลทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว ผลเสียจากการเผยแผ่ข้อมูลเหล่านี้ อาจย้อนกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้

สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
     เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ในการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเขาถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง หรือจะไม่มีสิทธ์ในการเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ปกติแล้วการเข้าถึงข้อมูลใดๆนั้น ผู้ใช้จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ (system administrator) ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแล บำรุงรักษาระบบให้สามารถทำงานเป็นปกติ
     การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น
     มาตรา 5   ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     มาตรา 7   ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     มาตรา 8   ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้ทีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทรัพย์สินทางปัญญา
 กระบวนการผลิตโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล ทำให้คนอื่นนำไปทำซ้ำและน้ำไปใช้ประโยชน์โดยไม่จ่ายเงินให้ผู้ผลิต จึงก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจกับเจ้าของข้อมูล และการนำข้อความหรือรูปภาพจากสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง
ทรัพย์สินทางปัญญา มี 3 ประเภท คือ
  1   ลิขสิทธ์ คือ สิทธ์แต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำงานใดๆเกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น
     2   เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
     3   สิทธิบัตร คือ สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธ์แต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอบคำถามท้ายบท

ตอบคำถามท้ายบท